วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คดีอาญาโกงเจ้าหนี้



โดยวิธีการบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผมชอบที่สุดคือวิชาแปลงคดีแพ่งให้เป็นคดีอาญา เพราะวิธีนี้ค่อนข้างจะเห็นผลเร็วและเพิ่มโอกาสให้โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้เร็วขึ้น ครบถ้วน และแน่นอนมากขึ้น

แต่วิชาแปลงคดีแพ่งให้เป็นคดีอาญาส่วนใหญ่ก็เอาไว้จัดการเฉพาะจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ชอบดื้อแพ่ง เหนียวหนี้ หัวหมอ และพวกชอบคิดทุจริตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอาญาลักทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร เช็ค และอันสุดท้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 หรือที่เรียกกันง่ายๆ ติดปากว่า"โกงเจ้าหนี้"


ไอ้คดีโกงเจ้าหนี้ส่วนตัวผมว่ามันก็ซับซ้อนพอสมควรนะ เกี่ยวกับเรื่องเจตนาของผู้ต้องหาว่ามันเจตนาโกงเจ้าหนี้จริงหรือไม่จริง
อย่างไอ้เรื่องลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำการ"ขายฝาก"ที่ดิน บางที่มันก็ดูเจตนายากเหมือนกันว่ามันเจตนาโกงเจ้าหนี้หรือเปล่าเพราะมันยังคงมีกำหนดไถ่ถอนที่ดิน คือมองแล้วมันอ่านเจตนาไม่ขาด
ผมเจอมาเยอะพอควรเรื่องลูกหนี้ขายฝากที่ดินแล้วหลุดขายฝากไม่ไถ่ถอน แต่ก็ไม่เคยพิจารณาองค์ประกอบความผิดแบบชัดแจ้งซักทีว่ามันเข้าฐานความผิดโกงเจ้าหนี้หรือเปล่า เพราะพอจะลงก็ดันตามหนี้ได้ครบจากจำเลยร่วมคนอื่นๆมาก่อน เลยแคล้วคลาดไม่ได้ลงมือทำซะที





มาคราวนี้ล่ะ! ไม่มีคลาดไม่มีแคล้ว ยึดเอาแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12250/2557 นี่ล่ะ

บรรดาจำเลยหรือลูกหนี้ทั้งปวงและทั้งหลายจงฟัง ไม่ต้องคิดหนีหรือเชื่อทะแนะที่ไหนให้หนีหนี้โดยวิธีขายฝากที่ดิน
งานนี้ไม่มีเลี้ยงไว้เชิดหน้าชูคอ ขับรถเก๋งคันโตติดอีโก้แต่ไม่จ่ายหนี้

#ขอบคุณคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12250/2557 ที่ช่วยประสิทธิ์ประสาทวิชา และติดดาบเพิ่มให้อีก1เล่ม

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อย่าบิด เดี๋ยวหัก

กูไม่รู้จะนิยามคำว่า Connection ให้เป็นภาษาไทยอย่างไร เพราะแปลตามความหมายมันคือคำว่า การเชื่อม หรือ ความสัมพันธ์
แต่กูคิดว่าเพื่อนทุกคนคงรู้ว่ามันหมายถึง หรือสื่อถึงอะไร

มีอะไรให้ช่วยกูช่วยได้นั่นคือทันที แต่การช่วยของกูบางทีมันตีค่าออกมาไม่ได้ แต่ไม่ใช่มันไม่มีค่า

ส่วนคำว่า "บิด" มือคือคำกิริยา ก่อนจะเกิดอาการที่เรียกว่า "หัก" ถ้ามันกระทำกับของแข็ง ไม่อย่างงั้นก็จะเกิดอาการ "งอ" ถ้ามันกระทำกับของอ่อน

กูเลยต้องบอกว่า พวกมึงอย่าคิด "บิดคอนเนคชั่น" เพราะถ้ามันหัก แล้วมันจะเชื่อมไม่ติด

ส่วนไอ้พวกที่บิดทีละเล็กละน้อยกูก็ไม่ว่า แต่ถ้ามึงมีปัญหากันมา มึงว่ากูจะช่วยเต็มที่เปล่าละ
ตัวกู หรือแม้แต่คนรอบข้างกู มีแต่คนแข็งๆ คำว่างอคงไม่มี แต่พวกกูแค่รอวันหัก

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คดีอาญาโกงเจ้าหนี้



โดยวิธีการบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผมชอบที่สุดคือวิชาแปลงคดีแพ่งให้เป็นคดีอาญา เพราะวิธีนี้ค่อนข้างจะเห็นผลเร็วและเพิ่มโอกาสให้โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้เร็วขึ้น ครบถ้วน และแน่นอนมากขึ้น

แต่วิชาแปลงคดีแพ่งให้เป็นคดีอาญาส่วนใหญ่ก็เอาไว้จัดการเฉพาะจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ชอบดื้อแพ่ง เหนียวหนี้ หัวหมอ และพวกชอบคิดทุจริตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอาญาลักทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร เช็ค และอันสุดท้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 หรือที่เรียกกันง่ายๆ ติดปากว่า"โกงเจ้าหนี้"


ไอ้คดีโกงเจ้าหนี้ส่วนตัวผมว่ามันก็ซับซ้อนพอสมควรนะ เกี่ยวกับเรื่องเจตนาของผู้ต้องหาว่ามันเจตนาโกงเจ้าหนี้จริงหรือไม่จริง
อย่างไอ้เรื่องลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำการ"ขายฝาก"ที่ดิน บางที่มันก็ดูเจตนายากเหมือนกันว่ามันเจตนาโกงเจ้าหนี้หรือเปล่าเพราะมันยังคงมีกำหนดไถ่ถอนที่ดิน คือมองแล้วมันอ่านเจตนาไม่ขาด
ผมเจอมาเยอะพอควรเรื่องลูกหนี้ขายฝากที่ดินแล้วหลุดขายฝากไม่ไถ่ถอน แต่ก็ไม่เคยพิจารณาองค์ประกอบความผิดแบบชัดแจ้งซักทีว่ามันเข้าฐานความผิดโกงเจ้าหนี้หรือเปล่า เพราะพอจะลงก็ดันตามหนี้ได้ครบจากจำเลยร่วมคนอื่นๆมาก่อน เลยแคล้วคลาดไม่ได้ลงมือทำซะที





มาคราวนี้ล่ะ! ไม่มีคลาดไม่มีแคล้ว ยึดเอาแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12250/2557 นี่ล่ะ

บรรดาจำเลยหรือลูกหนี้ทั้งปวงและทั้งหลายจงฟัง ไม่ต้องคิดหนีหรือเชื่อทะแนะที่ไหนให้หนีหนี้โดยวิธีขายฝากที่ดิน
งานนี้ไม่มีเลี้ยงไว้เชิดหน้าชูคอ ขับรถเก๋งคันโตติดอีโก้แต่ไม่จ่ายหนี้

#ขอบคุณคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12250/2557 ที่ช่วยประสิทธิ์ประสาทวิชา และติดดาบเพิ่มให้อีก1เล่ม

posted from Bloggeroid

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ตะลุยวันอาทิตย์ 9/58

I just finished a workout with Road Bike Android app and challenge you to beat my time. Sport: Cycling Distance: 26.98 km Duration: 01 hours 14 minutes 41 seconds At: 13.09.15 06:37 View my session at http://www.runtastic.com/sport-sessions/1023783732. To see past workouts go to http://www.runtastic.com/users/71320553. Get runtastic iPhone, Android, BlackBerry, Windows Phone and bada Apps for free: http://www.runtastic.com/apps.

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คนโง่แต่ขยัน ให้เอาไปตัดหัว


คำกล่าวโบราณว่าไว้
คนฉลาดและขยัน ให้เป็นแม่ทัพ
คนฉลาดแต่ขี้เกียจ ให้เป็นเสนาธิการ
คนโง่และขี้เกียจ ให้เป็นพลทหาร
คนโง่แต่ขยัน ให้เอาไปตัดหัวทิ้งทันที

1.คนฉลาดและขยัน เขาบอกให้เลี้ยงไว้ ส่งเสริมให้เป็นนายคน ให้คอยสั่งการทั้งบู๋และบุ๋น ตัดสินใจเด็ดขาด เป็นหัวหน้าทีมีประสิทธิภาพ สมควรยกย่อง

2.คนฉลาดแต่ขี้เกียจ เขาบอกให้ทำงานที่ใช้สมอง ไม่ต้องลงมือ คอยวางแผนการจะเหมาะสม ให้คอยเป็นที่ปรึกษา

3.คนโง่และขี้เกียจ เขาบอกให้เลี้ยงไว้ คอยจับตา คอยแนะนำ และสั่งให้ทำตามปล่อยให้ทำเองไม่ได้ ถึงมันโง่แต่ก็จะไม่สร้างความเดือดร้อนเพราะมันขี้เกียจ ให้เป็นพลทหารคอยทำตามคำสั่ง

4.สุดท้าย ไอ้พวกโง่แต่ขยัน เขาบอกว่ามีอันตราย ไอ้พวกนี้ไม่ไหวเขาให้เอามันไปตัดหัว เพราะมันจะขยันคิดขยันทำแต่เรื่องโง่ๆ ส่งผลให้เพื่อนหรือเจ้านายหรือคนอื่นเดือดร้อน ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงานใด มีแต่ขยันสร้างความเดือดร้อน ควรต้องกำจัดทิ้ง

คำโบราณว่าไว้ยังใช้ได้กับเหตุการปัจจุบัน ปัญหาคือผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารในปัจจุบัน เก่งหรือมีความสามารถเพียงพอที่จะจำแนกคนทั้ง 4 ประเภทนี้ออกหรือเปล่า หรือหลงมัวเมาเอาแต่เล่นพรรคเล่นพวก มองไอ้คนประเภทที่ 4 เป็นประเภทที่ 1 ซึ่งจะนำมาซึ่งความล่มสลายขององค์กร

คำถามคือ คุณประเมินตนเองเป็นคนประเภทไหน?

posted from Bloggeroid

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สำหรับใช้เพื่อการบังคับคดีเท่านั้น #บทที่1.เมื่อจำเลยทำงานที่ UN ผมคิดอะไรอยู่...?

เมื่อจำเลยทำงานที่ UN ผมคิดอะไรอยู่...?

โชคงามยามดีอยากลองวิชาและนึกสนุก จังหวะดีมีงานบังคับคดีที่จำเลยที่1,2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำงานเป็น รปภ.ขององค์การสหประชาชาติ( UN ) แต่ที่ผมและหลายคนไม่เคยรู้เลยคือ ไอ้ รปภ.UN เนี่ย เงินเดือนมันเดือนๆนึงมากกว่าเงินเดือนผม 2เดือนรวมกันเสียอีก


เนื้อหาตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่มีอะไรมาก เงินต้น80,000บาท ผ่อนเดือนละไม่น้อยกว่า3,000บาท ห้ามผิดนัดหากผิดนัดถึงเริ่มคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15ต่อปี หากไม่ผิดนัดเลยก็ไม่มีดอกเบี้ย(เนื้อหาตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ง่ายๆ ตามนี้)
เงินเดือนจำเลยต่อคนเกือบแสน ผ่อนเดือนละไม่ต่ำกว่า3,000บาทต่อเดือน ถ้าจำเลยมีวินัยและสำนึกต่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็คงไม่มีปัญหา ผ่อนเบาๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาติดตามให้หงุดหงิดใจ


แล้วกำหนดชำระหนี้งวดแรกก็มาถึง...ผลคือ..? ผิดนัด จำเลยชำระหนี้ล่าช้าไป16วัน (คดีนี้ต่อเนื่องมาจากคดีเช่าซื้อ ซึ่งแต่เดิมต้องผ่อนค่างวดรถเดือนละเกือบหมื่นสอง และให้จ่ายค่างวดล่าช้าได้เรทไม่เกิน3วัน) เอาแล้วไง! ต้องให้พนักงานมาเสียเวลาโทรแจ้งโทรติดตามอีกแล้ว... แต่ไม่เป็นไรไม่มีวินัยในการชำระหนี้เยี่ยงนี้ อะ! รายงานศาลก่อน ขอออกหมายบังคับคดีและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีรอเลยแล้วกัน

งวดที่1 ผ่านไปไวปานวอก งวดที่2 มาถึง
หึหึ...ผิดนัดชำระหนี้อีกแล้ว เอาไงดีว่ะ! โทรเลยมั๊ย! ตามเลยมั๊ย!
แต่เหตุการณ์ดันกลับกัน หลังจากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก และชำระหนี้ตามที่ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความล่าช้าถึง 16วัน และมาผิดนัดอีกในงวดที่2 แต่หลังจากนั้นอีก 7วัน จำเลยที่1 กลับเป็นฝ่ายติดต่อกลับมาก่อน

หลังจากจำเลยติดต่อเข้ามา หาข้อมูลคดีและแนะนำตัวเสร็จสรรพแล้ว
บทสนทนา
จำเลยที่1: ผมอยากปิดบัญชี! เงินผมมี! แต่จะขอลดหนี้ลงจากที่ตกลงที่ศาลอีก
พนักงานเจ้าหนี้ : หนี้ลดลงไม่ได้แล้วครับ เพราะตกลงกันไว้ที่ศาลแล้ว เรามีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ตกลงครับ
จำเลยที่1: ถ้าหนี้ไม่ลด! ผมก็ไม่จ่ายปิดบัญชีหรอก ถึงจะมีเงิน พวกคุณก็ตามเก็บที่ผมผ่อนไปแล้วกัน
พนักงานเจ้าหนี้ : ได้ครับ! ตามที่ว่าเลย! แต่คุณพี่ผิดนัดแล้วนะครับ ยังไงรบกวนชำระหนี้ให้ตรงตามที่ตกลงด้วยนะครับ
แล้วการเจรจาก็สิ้นสุดลง...( ผิดนัดแล้วมาห้าวมีชั้นเชิงกับเจ้าหนี้อีก)

แล้วงวดที่2...ก็ชำระเข้ามาแต่ชำระล่าช้า ถึง15 วันอีกแล้ว (ต้องให้พนักงานโทรไปเตือน ซึ่งผมย้ำว่าไม่จำต้องเตือน) ไม่มีวินัยในการชำระหนี้อีกแล้ว อะ! ไม่เป็นไร หมายบังคับคดีออกแล้วครับ


งวดที่3...ชำระล่าช้าอีกแล้ว เงินเดือนเกือบแสนแต่เอาอีกแล้วครับคุณพี่ อะ! ไม่เป็นไร พนักงานเจ้าของคดีไปตามที่บ้านหน่อยซิ! ไม่ได้ไปตามหนี้หรอก แต่ไปเพื่อสืบทรัพย์บังคับคดีต่างหาก
แต่เมื่อไปถึงแล้วพบเจอกัน ก็พูดคุยหน่อยละกัน...ตามประสาคนมี้หนี้ต่อกัน ผิดนัดบ่อยเลยนะครับ!
มาแจ้งแล้วนะครับ!
ไม่ผิดนัดนะครับ!
ไม่ตามอีกแล้วก็ซีเรียสนะครับ!
แล้วก็นั่นไง! งวดที่3...3วันก็แล้ว...7วันก็แล้ว...เอ้า 15 วันก็แล้ว...30วันผ่านไป งวดที่3ยังไม่ยอมจ่าย วินัยทางการเงินแย่มาก
ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและออกหมายบังคับคดีเพราะลูกหนี้ผิดนัดแล้วครับ
และระหว่างนั่งดูจำเลยผิดนัดชำระหนี้เพลินๆ ชอบชำระหนี้ตามอัธยาศัย ไร้วินัยทางการเงิน
ทางการสืบทรัพย์...อืม
จำเลยที่1 กรรมสิทธิ์ที่ดิน2แปลง พร้อมบ้าน2หลัง ย่านบึงกุ่ม จำนองน้อยๆ ราคาทรัพย์ท่วมหนี้จำนอง + รปภ.UN เงินเดือนสูงลิบ
จำเลยที่2 กรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านย่านลาดพร้าว ติดจำนองไม่สูงแต่ถูกเจ้าหนี้อื่นยึดไว้ แต่ราคาทรัพย์ยังสูงกว่าหนี้แบงค์และหนี้โจทก์ที่ยึดอยู่มาก + รปภ.UN เงินเดือนสูงลิ่ว
เฮ้ย...แล้วนี่มันคืออะไร ให้ผ่อนหนี้เดือนละแค่3,000 แต่ห้ามผิดนัด นี่พวกคุณมันไร้วินัยชัดๆ คงถึงเวลาที่พวกเราต้องสนุกกันแล้วนะครับ






คดีนี้ถ้าใช้มุมมองแบบทนายบังคับคดีแล้ว ถือว่าคดีนี้ง่ายมาก ไม่ซับซ้อน การที่จะทำให้ได้หนี้คืนโดยเร็วไม่ยุ่งยาก และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสภาพบังคับอยู่หลายอย่าง มีกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่หลายแปลง ซึ่งพนักงานเจ้าของคดีก็ทราบดีอยู่

แต่สิ่งที่ผมให้โจทย์...? แก่พนักงานเจ้าของคดีไปคิดและทำการบ้านคือ คดีนี้ไม่ให้ยึดกรรมสิทธิ์บ้านแต่ให้อายัดเงินเดือนจำเลยเท่านั้น....เอาแล้วไง! พนักงานเจ้าของคดีลูกน้องผมเองงานเข้าล่ะ!

***สิ่งที่คนทำงานด้านบังคับคดีรู้และเข้าใจต่อการบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีการอายัดเงินเดือน ผมพูดง่ายๆก็คือ
1.ถ้าทำงานบริษัทฯ หรือ หจก. ก็แค่คัดหนังสือรับรองบริษัทฯ หรือ หจก. นายจ้างจำเลย คัดทะเบียนบ้านจำเลย แล้วก็ไปดำเนินการอายัดกับกรมบังคับคดีได้แล้ว
2.ถ้าทำงานพวกรัฐวิสาหกิจ พวกไฟฟ้า ประปา ก็ไม่ต้องมีเอกสารอะไร อายัดได้เลย แค่แถลงภูมิลำเนาที่ตั้งนายจ้างเพื่อนำส่งหมายแจ้งการอายัดเงินเดือน
3.ถ้าจำเลยเป็นข้าราชการ อันนี้เลิกยุ่ง หรือถ้าเป็นลูกจ้างหรือพนักงานของราชการ อันนี้เราจะไม่แตะเพราะมันยุ่งยากซับซ้อนมากซึ่งเอาเวลาไปตามสืบทรัพย์บังคับคดีโดยวิธีอื่นจะรวดเร็วกว่า
โดยคร่าวๆ ก็จะมีเพียงเท่านี้

แล้วการทำงานการบังคับคดีโดยวิธีอายัดเงินเดือนครั้งนี้ล่ะ! ลูกน้องผมจะจัดการอย่างไรเมื่อโจทย์ที่ผมให้เจ้าของคดีไปคืออายัดเงินเดือนเท่านั้น
เจ้าของคดีจะจัดการคดีอย่างไรให้ได้หนี้คืน..? ในเมื่อจำเลยไร้วินัยทางการเงินก็ต้องเร่งจัดการ

โจทย์ก็คือให้อายัดเงินเดือน รปภ.องค์การสหประชาชาติ
แล้วนี่คือสิ่งที่พนักงานเจ้าของคดีคิด...?
-จะอายัดเงินเดือนอย่างไรในเมื่อนายจ้างไม่ใช่บริษัท
-จะส่งหมายอายัดเงินเดือนอย่างไรในเมื่อนายจ้างจำเลยก็ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
-แล้ว UN เนี่ยอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยหรือเปล่า
-การจะอายัดเงินเดือนต้องแถลงส่งหมายไปที่ไหน ไปหาใคร? ประเทศไทยหรือต่างประเทศ
-จะหาเอกสารประกอบในการแถลงส่งหมายให้แก่นายจ้างจำเลยจากที่ไหน
-จะลองโทรไปสอบถามข้อมูลจาก UN ประจำประเทศไทยก็คงไม่มีใครบอก
-ใครที่ตำแหน่งใหญ่ที่สุดของ UN ประจำประเทศไทยก็หาข้อมูลชื่อหรือตำแหน่งไม่ได้
-องค์การสหประชาชาติ เป็นส่วนราชการของประเทศไทยหรือไม่
-หากอายัดเงินเดือนแล้วนายจ้างไม่ส่งเงินอายัดจะทำอย่างไร
-หากโดนร้องศาลเพิกถอนการอายัดจะทำอย่างไร
แล้วปัญหาก็ร้อยแปดประการ จนทำให้การคิดจะบังคับคดีจำเลยโดยวิธีการอายัดเงินเดือน รปภ.UN คดีนี้ไม่มีความคืบหน้า



โจทย์นี้เจ้าของคดีแก้ปัญหาไม่ตก มันจึงต้องเริ่มคิดกันใหม่ และด้วยความล่าช้า
ผมจึงต้องเช็คข้อมูล UN ประจำประเทศไทยจากอินเตอร์เนทใช้เวลา5 นาทีแล้วปริ๊นซ์ที่ตั้ง UN จากหน้าเวปไซด์มาให้ แล้วสั่งการใหม่
1.ไม่ต้องคิดมาก
2.ถือกระดาษแผ่นนี้( ที่อยู่ UN ปทท. ) พร้อมคำขออายัดเงินเดือน และแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรจำเลย(ทร.14) ไปที่กรมบังคับคดีเพื่อ ทำการอายัดเงินเดือนเลย
3.ให้ทำการอายัดเฉพาะจำเลยที่1ก่อนเท่านั้น(เกรงว่าหากอายัดจำเลยที่2 ด้วย จำเลยอาจจะยิงกันตายก่อน เพราะจำเลยเป็น รปภ.ที่พกปืน)
4.ไม่ต้องกลัวมีปัญหา เดี๋ยวจัดการเอง
5.อะไรที่ไม่รู้แล้วคิดมากอยู่ เดี๋ยวไปอายัดแล้วจะรู้เรื่องเอง
ตอนนี้ผมไม่อยากสอนอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว เพราะเสียเวลาล่าช้าให้เจ้าของคดีคิดมาหลายวันแล้วให้ไปรู้ไปคิดเอาหน้างานเลย

แล้วการทำงานบังคับคดีในคดีนี้ก็ได้เริ่มขึ้น
พนักงานเจ้าของคดีหายตัวไปทำงานที่กรมบังคับคดีตั้งแต่เช้า 5 ชั่วโมงผ่านไป สิ่งที่คิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ยังไม่รายงานผลการทำงาน
แล้วก็ต้องโทรไปตาม...แล้วก็จริงอย่างที่คิด งานยังไม่เสร็จ...แต่สิ่งที่ได้รับรายงานมาเหตุการณ์เป็นไปอย่างที่คาดไว้ แต่พนักงานเจ้าของคดีก็มีคำตอบปิดท้ายมาให้ว่า"เสร็จแน่นอนครับ" แต่วุ่นกันทั้งกองอายัดตั้งแต่เช้าจนถึงตอนนี้

และนี่คือสิ่งที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดซึ่งทำให้พิจารณาสั่งอายัดเงินเดือนจำเลยล่าช้า และวุ่นทั้งกองอายัด หลักๆก็คือ
-อายัดได้เหรอ
-มีกฎหมายให้อำนาจไว้หรือเปล่า
-ต้องส่งหมายแจ้งการอายัดไปยังใคร? ไปที่ไหน? ต้องใช้เอกสารอะไรประกอบบ้าง(เพราะโจทก์ปริ๊นกระดาษไปนำส่งแค่ใบเดียว)
-มีกฎหมายระหว่างประเทศคุ้มครองอยู่หรือเปล่า
-และที่สำคัญคือ ถ้าโดนร้องเพิกถอนการอายัดขึ้นมา ในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรับผิดหรือไม่ เพียงไร อย่างไร ซึ่งข้อนี้สำคัญสุดสำหรับการทำงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ซึ่งเพียงคิดปัญหาเท่านี้ก็ทำให้การทำหน้าที่ตามหมายบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีล่าช้าถึง5-6ชั่วโมง เพื่อหาข้อมูลและข้อกฎหมายต่างๆ และก็นี่ล่ะคือเจตนาที่แท้จริงของผม

ส่วนคำปิดท้ายของพนักงานเจ้าของคดีนี่ล่ะ! ที่ว่า"เสร็จแน่นอนครับ"จึงทำให้คลายใจว่างานสำเร็จแน่ ตามแผนที่วางไว้ และพนักงานเจ้าของคดีคงได้แนวคิดหรือวิชาอะไรเพิ่มเติม ขึ้นมาก
และเมื่อเวลาล่วงจนเย็น พนักงานกลับมารายงานผลความสำเร็จในการบังคับคดีโดยวิธีการอายัดเงินเดือนเจ้าหน้าที่ รปภ. UN ครั้งนี้ ซึ่งในใจคงดีใจพร้อมยังคงสงสัยอยู่ว่าทำงานสำเร็จมาได้อย่างไร เหตุใดเรื่องที่คาดว่ายากจึงสำเร็จลงได้ และตัวพนักงานเจ้าของคดีคงทราบถึงความยุ่งยากในการทำงานครั้งนี้ เพราะได้ประสบปัญหาในการประสานงานกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจริงๆ จึงคงภูมิใจอยู่ไม่น้อย ถึงผลสำเร็จเบื้องต้น

#ทนายแจ็ค
#Power of attorney


มีภาคต่อ...บทที่2

posted from Bloggeroid

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สำหรับใช้เพื่อการบังคับคดีเท่านั้น #บทที่2.เมื่อจำเลยทำงานที่ UN ผมคิดอะไรอยู่...?

ต่อจากบทที่1

เมื่อพนักงานเจ้าของคดีดำเนินการบังคับคดีจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งผิดนัดเสร็จสำเร็จแล้ว แต่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับชำระหนี้คืนครบถ้วนในทันที

*และนี่คือสิ่งที่ผมคิดในการออกคำสั่งให้ไปดำเนินการอายัดเงินเดือนเท่านั้นในครั้งนี้ ว่าทำไมถึงมั่นใจว่างานนี้มันง่ายและต้องสำเร็จ และต้องจัดการลูกหนี้ตามคำพิพากษาสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งไร้วินัยทางการเงิน ขยันผิดนัดชำระหนี้ตามอำเภอใจให้เข็ดหลาบ และเพื่อเป็นการปลูกฝังแนวคิดวิธีการทำงานของคนทำงานด้านติดตามหนี้ให้ประสบผลสำเร็จ
1.ผมไม่รู้และไม่สนใจว่านายจ้างจำเลยเป็นใคร ผมรู้แต่ว่าทุกคนที่มีรายได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งแน่นอนจะด้วยเหตุผลใดผมก็สามารถตรวจสอบกับกรมสรรพากรได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้และใครเป็นผู้นำส่ง

2.ในเมื่อนายจ้างจำเลยในคดีนี้ไม่ได้เป็นรูปแบบบริษัทฯ แน่นอนผมก็ไม่จำต้องส่งหนังสือรับรองบริษัทฯ ซึ่งต้องไปคัดจากกรมพัฒนาธุรกิจ ดังนั้นวิธีในการนำส่งภูมิลำเนานายจ้างจำเลยจึงต้องใช้วิธีเดียวกับนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเท่านั้น นั่นก็คือแถลงยืนยัน แต่ถ้าจะให้ชัวร์ก็เพียงพรินท์ภูมิลำเนาสถานที่ตั้งที่อยู่นายจ้างจำเลยจากหน้าเวปไซด์ซึ่งมักมีอยู่ทุกองค์กรเท่านั้น เพียงเท่านี้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะดำเนินการให้

3.ผมไม่คิดว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะโต้แย้งตาม(ข้อ2.)เพราะหากโต้แย้งว่าเอกสารใช้ไม่ได้ อยากได้เอกสารที่เป็นแบบทางราชการรับรอง เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องตอบโจทย์นี้มาด้วย ว่าต้องไปคัดที่ไหน อย่างไร เอกสารหน้าตาเป็นเช่นไร ซึ่งแน่นอนเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รู้แน่!

4.ผมไม่จำต้องรู้ว่าหนังสือแจ้งการอายัดต้องทำถึงใคร? หน่วยงานรับผิดชอบภายในองค์กรนั้นเป็นอย่างไร ผมรู้แต่ว่าเมื่อหนังสือแจ้งการอายัดถูกส่งออกไปตามแบบหนังสือราชการไปถึงยังนายจ้างของจำเลยตามที่แจ้งแล้ว หนังสือมันจะเดินทางไป ตามระบบของตัวหนังสือมันเอง และมันไม่หายแน่ ทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กรจะมีประชาสัมพันธ์หรืองานรับส่งหนังสือ และเมื่อหนังสือหรือหมายแจ้งการอายัดไปถึงมันจะบอกคุณเองว่าหนังสือไปอยู่ที่ไหน ที่ใคร อย่างไร และอยู่ขั้นตอนไหน

5.ผมไม่จำต้องรู้ว่าการอายัดเงินเดือนจะสำเร็จหรือไม่ แต่ผมรู้ว่าเมื่อหนังสือแจ้งการอายัดเงินเดือนไปถึงนายจ้างของจำเลยแล้ว มันจะต้องมีผลกระทบภายในองค์กรนั้นๆเป็นแน่ และตัวจำเลยต้องไม่พ้นที่จะโดนนายจ้างเรียกคุย เรียกสอบ เรียกสั่งให้รีบจัดการปัญหา และถ้ายิ่งเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน จะยิ่งเกิดปัญหามากขึ้น

6.หมายแจ้งการอายัดไม่ได้ถึงแต่เฉพาะนายจ้างของจำเลย แต่จะถึงตัวจำเลยตามภูมิลำเนาด้วย ซึ่งแน่นอนจำเลยไม่อยู่เฉยแน่ ต้องมีปัญหากับนายจ้างและโทรหรือติดต่อมายังเจ้าหนี้หรือโจทก์เป็นแน่ เพียงแต่ว่าจะมาดีหรือมาร้าย ซึ่งนั่นก็เพียงพอให้เราซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากดดันจำเลยให้จ่ายหนี้ให้ครบถ้วนโดยพลันเพื่อแก้ปัญหา

7.ผมไม่ได้สนว่าเงินเดือนจำเลยจะอยู่ในข่ายที่บังคับคดีได้ หรือมีกฏหมายอะไรต้องห้ามอายัดหรือไม่ และผมไม่สนใจที่จะต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากเรื่องนี้ให้เสียเวลาตามหนี้ เพราะเราเป็นนักกฎหมาย เป็นทนาย แต่ไม่จำต้องรู้ทุกเรื่อง เพราะถ้ามันเกิดทำไม่ได้จริงหรือมีกฎหมายต้องห้ามไว้ นายจ้างของจำเลย ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีฝ่ายกฎหมายอยู่ และย่อมเชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศด้วย จะเป็นผู้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วทำเรื่องส่งเงินตามอายัด หรือทำหนังสือมาชี้แจงหรือคัดค้านโต้แย้งคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง โดยที่ทั้งผมและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องเสียเวลาศึกษาหรือหาข้อมูล ก็ได้วิชาเพิ่มขึ้นแล้ว

8.หรือในกรณีมีปัญหาในชั้นศาล มีการต้องขอเพิกถอนการอายัด แย่ที่สุดผมก็เพียงแถลงถอนการอายัด หรือไม่ศาลก็มีคำสั่งอายัดไม่ชอบเท่านั้น ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะตราบเท่าที่นายจ้างจำเลยไม่ทำการอายัดเงินเดือนให้ จำเลยก็ยังไม่เกิดความเสียหาย ส่วนความเสียหายเชิงหน้าตา โดนเจ้านายด่าหรือตำหนิมันพิสูจน์ไม่ได้

9.แล้วถ้าเรื่องคัดค้านหรือเพิกถอนการอายัดเงินเดือนต้องขึ้นสู่ศาลจริง(อีกครั้ง ภายหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ตามนัด) เพราะจำเลยร้องต่อศาล
คำถามแรกที่ศาลจะถามก็คือ ยื่นคำร้องทำไม? ยื่นเพื่ออะไร? เป็นหนี้โจทก์แล้วทำไมไม่จ่ายหนี้เขาให้ตรงนัด
ซึ่งแน่นอน จำเลยมีแต่โดนกับโดน

10.หากจำเลยจะร้องศาลแล้วต้องเสียค่าทนายเพิ่ม สู้เอาเงินมาจ่ายหนี้แล้วขอความเห็นใจจากเจ้าหนี้จะดีกว่า

11.ถึงจำเลยจะร้องศาลขอเพิกถอนการอายัดชนะ หรือการอายัดเงินเดือนจะไม่สำเร็จด้วยเหตุอื่นมาแต่ข้างต้น ก็ไม่ทำให้หนี้ของโจทก์หมดไป โจทก์หรือเจ้าหนี้ยังคงบังคับคดีโดยวิธีอื่นๆได้อยู่ ซึ่งแน่นอน จำเลยในคดีนี้ยังคงมีทรัพย์สิน และกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกเพียบที่จะยึดมาขายทอดตลาดใช้หนี้โจทก์ได้

12.นี่คือบทเรียนสอนพนักงานให้มีใจสู้ กล้าที่จะคิด และกล้าที่จะทำ ดังนั้นทำอะไรก็มีแต่ได้

ถ้าสู้ผลมีแพ้มีชนะ ถ้าไม่สู้ผลคือแพ้อย่างเดียว


*หลังจากปฏิบัติการเบื้องต้นเสร็จสิ้น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาติดต่อเข้ามาขอยอมแพ้สารภาพผิด และยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว และจะมีวินัยทางการเงินและการชำระหนี้ให้ดีขึ้น
ส่วนผลแห่งคดีที่ได้ทำลงไปให้เป็นไปตามขั้นตอน

#ทนายแจ็ค
#Power of attorney

posted from Bloggeroid