วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สำหรับใช้เพื่อการบังคับคดีเท่านั้น #บทที่2.เมื่อจำเลยทำงานที่ UN ผมคิดอะไรอยู่...?

ต่อจากบทที่1

เมื่อพนักงานเจ้าของคดีดำเนินการบังคับคดีจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งผิดนัดเสร็จสำเร็จแล้ว แต่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับชำระหนี้คืนครบถ้วนในทันที

*และนี่คือสิ่งที่ผมคิดในการออกคำสั่งให้ไปดำเนินการอายัดเงินเดือนเท่านั้นในครั้งนี้ ว่าทำไมถึงมั่นใจว่างานนี้มันง่ายและต้องสำเร็จ และต้องจัดการลูกหนี้ตามคำพิพากษาสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งไร้วินัยทางการเงิน ขยันผิดนัดชำระหนี้ตามอำเภอใจให้เข็ดหลาบ และเพื่อเป็นการปลูกฝังแนวคิดวิธีการทำงานของคนทำงานด้านติดตามหนี้ให้ประสบผลสำเร็จ
1.ผมไม่รู้และไม่สนใจว่านายจ้างจำเลยเป็นใคร ผมรู้แต่ว่าทุกคนที่มีรายได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งแน่นอนจะด้วยเหตุผลใดผมก็สามารถตรวจสอบกับกรมสรรพากรได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้และใครเป็นผู้นำส่ง

2.ในเมื่อนายจ้างจำเลยในคดีนี้ไม่ได้เป็นรูปแบบบริษัทฯ แน่นอนผมก็ไม่จำต้องส่งหนังสือรับรองบริษัทฯ ซึ่งต้องไปคัดจากกรมพัฒนาธุรกิจ ดังนั้นวิธีในการนำส่งภูมิลำเนานายจ้างจำเลยจึงต้องใช้วิธีเดียวกับนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเท่านั้น นั่นก็คือแถลงยืนยัน แต่ถ้าจะให้ชัวร์ก็เพียงพรินท์ภูมิลำเนาสถานที่ตั้งที่อยู่นายจ้างจำเลยจากหน้าเวปไซด์ซึ่งมักมีอยู่ทุกองค์กรเท่านั้น เพียงเท่านี้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะดำเนินการให้

3.ผมไม่คิดว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะโต้แย้งตาม(ข้อ2.)เพราะหากโต้แย้งว่าเอกสารใช้ไม่ได้ อยากได้เอกสารที่เป็นแบบทางราชการรับรอง เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องตอบโจทย์นี้มาด้วย ว่าต้องไปคัดที่ไหน อย่างไร เอกสารหน้าตาเป็นเช่นไร ซึ่งแน่นอนเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รู้แน่!

4.ผมไม่จำต้องรู้ว่าหนังสือแจ้งการอายัดต้องทำถึงใคร? หน่วยงานรับผิดชอบภายในองค์กรนั้นเป็นอย่างไร ผมรู้แต่ว่าเมื่อหนังสือแจ้งการอายัดถูกส่งออกไปตามแบบหนังสือราชการไปถึงยังนายจ้างของจำเลยตามที่แจ้งแล้ว หนังสือมันจะเดินทางไป ตามระบบของตัวหนังสือมันเอง และมันไม่หายแน่ ทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กรจะมีประชาสัมพันธ์หรืองานรับส่งหนังสือ และเมื่อหนังสือหรือหมายแจ้งการอายัดไปถึงมันจะบอกคุณเองว่าหนังสือไปอยู่ที่ไหน ที่ใคร อย่างไร และอยู่ขั้นตอนไหน

5.ผมไม่จำต้องรู้ว่าการอายัดเงินเดือนจะสำเร็จหรือไม่ แต่ผมรู้ว่าเมื่อหนังสือแจ้งการอายัดเงินเดือนไปถึงนายจ้างของจำเลยแล้ว มันจะต้องมีผลกระทบภายในองค์กรนั้นๆเป็นแน่ และตัวจำเลยต้องไม่พ้นที่จะโดนนายจ้างเรียกคุย เรียกสอบ เรียกสั่งให้รีบจัดการปัญหา และถ้ายิ่งเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน จะยิ่งเกิดปัญหามากขึ้น

6.หมายแจ้งการอายัดไม่ได้ถึงแต่เฉพาะนายจ้างของจำเลย แต่จะถึงตัวจำเลยตามภูมิลำเนาด้วย ซึ่งแน่นอนจำเลยไม่อยู่เฉยแน่ ต้องมีปัญหากับนายจ้างและโทรหรือติดต่อมายังเจ้าหนี้หรือโจทก์เป็นแน่ เพียงแต่ว่าจะมาดีหรือมาร้าย ซึ่งนั่นก็เพียงพอให้เราซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากดดันจำเลยให้จ่ายหนี้ให้ครบถ้วนโดยพลันเพื่อแก้ปัญหา

7.ผมไม่ได้สนว่าเงินเดือนจำเลยจะอยู่ในข่ายที่บังคับคดีได้ หรือมีกฏหมายอะไรต้องห้ามอายัดหรือไม่ และผมไม่สนใจที่จะต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากเรื่องนี้ให้เสียเวลาตามหนี้ เพราะเราเป็นนักกฎหมาย เป็นทนาย แต่ไม่จำต้องรู้ทุกเรื่อง เพราะถ้ามันเกิดทำไม่ได้จริงหรือมีกฎหมายต้องห้ามไว้ นายจ้างของจำเลย ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีฝ่ายกฎหมายอยู่ และย่อมเชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศด้วย จะเป็นผู้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วทำเรื่องส่งเงินตามอายัด หรือทำหนังสือมาชี้แจงหรือคัดค้านโต้แย้งคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง โดยที่ทั้งผมและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องเสียเวลาศึกษาหรือหาข้อมูล ก็ได้วิชาเพิ่มขึ้นแล้ว

8.หรือในกรณีมีปัญหาในชั้นศาล มีการต้องขอเพิกถอนการอายัด แย่ที่สุดผมก็เพียงแถลงถอนการอายัด หรือไม่ศาลก็มีคำสั่งอายัดไม่ชอบเท่านั้น ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะตราบเท่าที่นายจ้างจำเลยไม่ทำการอายัดเงินเดือนให้ จำเลยก็ยังไม่เกิดความเสียหาย ส่วนความเสียหายเชิงหน้าตา โดนเจ้านายด่าหรือตำหนิมันพิสูจน์ไม่ได้

9.แล้วถ้าเรื่องคัดค้านหรือเพิกถอนการอายัดเงินเดือนต้องขึ้นสู่ศาลจริง(อีกครั้ง ภายหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ตามนัด) เพราะจำเลยร้องต่อศาล
คำถามแรกที่ศาลจะถามก็คือ ยื่นคำร้องทำไม? ยื่นเพื่ออะไร? เป็นหนี้โจทก์แล้วทำไมไม่จ่ายหนี้เขาให้ตรงนัด
ซึ่งแน่นอน จำเลยมีแต่โดนกับโดน

10.หากจำเลยจะร้องศาลแล้วต้องเสียค่าทนายเพิ่ม สู้เอาเงินมาจ่ายหนี้แล้วขอความเห็นใจจากเจ้าหนี้จะดีกว่า

11.ถึงจำเลยจะร้องศาลขอเพิกถอนการอายัดชนะ หรือการอายัดเงินเดือนจะไม่สำเร็จด้วยเหตุอื่นมาแต่ข้างต้น ก็ไม่ทำให้หนี้ของโจทก์หมดไป โจทก์หรือเจ้าหนี้ยังคงบังคับคดีโดยวิธีอื่นๆได้อยู่ ซึ่งแน่นอน จำเลยในคดีนี้ยังคงมีทรัพย์สิน และกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกเพียบที่จะยึดมาขายทอดตลาดใช้หนี้โจทก์ได้

12.นี่คือบทเรียนสอนพนักงานให้มีใจสู้ กล้าที่จะคิด และกล้าที่จะทำ ดังนั้นทำอะไรก็มีแต่ได้

ถ้าสู้ผลมีแพ้มีชนะ ถ้าไม่สู้ผลคือแพ้อย่างเดียว


*หลังจากปฏิบัติการเบื้องต้นเสร็จสิ้น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาติดต่อเข้ามาขอยอมแพ้สารภาพผิด และยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว และจะมีวินัยทางการเงินและการชำระหนี้ให้ดีขึ้น
ส่วนผลแห่งคดีที่ได้ทำลงไปให้เป็นไปตามขั้นตอน

#ทนายแจ็ค
#Power of attorney

posted from Bloggeroid

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น